วันพฤหัสบดีที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ประโยชน์การเล่นวอลเลย์บอล

๑. วอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่ฝึกหัดเล่นให้เป็นได้ง่ายและเล่นได้ทุกเพศทุกวัย เมื่อเล่นวอลเลย์บอลเป็นแล้ว จะทำให้ผู้เล่นสามารถเล่นกีฬาได้นานกว่ากีฬาบางประเภท ซึ่งคุ้มกับที่ได้ฝึกฝนมาแม้แต่สตรีที่มีบุตร
แล้วหากมีร่างกายแข็งแรงก็สามารถเข้าร่วมการแข่งขันได้เป็นอย่างดี
๒. วอลเลย์บอลเป็นกีฬาประเภททีม จึงต้องมีการฝึกซ้อมเพื่อให้การเล่นในทีมมีความสัมพันธ์และรักใคร่ปรองดอง เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน หากทีมใดขาดความสามัคคีแล้ว เมื่อลงแข่งขันย่อมจะมีชัยชนะได้ยาก ผลของการเล่นกีฬาประเภทนี้จึงสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ให้มีนิสัยรักใคร่สามัคคีกันระหว่าง
หมู่คณะมากยิ่งขึ้น
๓. วอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่ช่วยฝึกฝนให้ผู้เล่นมีไหวพริบที่ชาญฉลาดและแก้ปัญหา อย่างฉับพลันทันที เพราะการเล่นวอลเลย์บอลนั้นผู้เล่นจะต้องเคลื่อนไหวร่างกายอยู่ตลอดเวลา รวมทั้งต้องมีไหวพริบที่ดีสามารถตัดสินใจและแก้ปัญหาเฉพาะหน้าต่าง ๆ ได้จึงจะทำให้มีชัยชนะในการเล่น
๔. การเล่นวอลเลย์บอลเป็นการส่งเสริมและฝึกให้ผู้เล่นมีจิตใจเยือกเย็น สุขุม รอบคอบ อารมณ์มั่นคง มีสมาธิดี มีความเชื่อมั่นในตัวเอง เพราะผู้เล่นที่อารมณ์ร้อน มุทะลุ ดุดัน เอาแต่ใจตนเอง จะทำให้การเล่นผิดพลาดบ่อย ๆ ถ้าเป็นการแข่งขันก็จะแพ้ฝ่ายตรงข้ามได้ง่าย ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้ล้วนแต่มีประโยชน์ต่อตัวผู้เล่นวอลเลย์บอล
ที่จะนำมาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันให้เกิด ประโยชน์ต่อตนเองและสังคมอีกด้วย
๕. วอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่เล่นได้โดยไม่จำกัดเวลา ถ้าหากผู้เล่นรู้จักการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ซึ่งอาจ
จะเล่นตอนเช้า สาย บ่าย เย็นหรือแม้แต่ในเวลากลางคืนก็ได้ถ้ามีแสงสว่างเพียงพอ และเล่นได้ทั้งในที่ร่ม
หรือกลางแจ้ง
๖. การเล่นวอลเลย์บอล ผู้เล่นต่างก็อยู่ในแดนของตนเองและมีตาข่ายขึงกั้นกลางสนาม ทำให้ไม่มีโอกาสที่จะปะทะกันระหว่างผู้เล่นทั้งสองฝ่าย จึงไม่ก่อให้เกิดการทะเลาะวิวาทกันขึ้น
๗. วอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่ช่วยส่งเสริมบุคลิกภาพของผู้เล่นอย่างหนึ่ง เพราะผู้เล่นจะต้องถูกฝึกให้มีระเบียบ
มี วินัย มีเหตุมีผล รู้จักการเป็นผู้นำผู้ตาม และมีความรับผิดชอบในหน้าที่ของตน ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นการปลูกฝังนิสัยอันมีผลที่จะนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน ด้วย
๘. วอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่มีกฎกติกา ผู้เล่นต้องเคารพและปฏิบัติตามกฎกติกาการเล่น ดังนั้นการเล่นวอลเลย์บอล
ย่อมช่วยสอนให้ผู้เล่นรู้จักความยุติธรรม มีความอดทนอดกลั้น รู้จักเคารพสิทธิของผู้อื่น
๙. วอลเลย์บอลเป็นกีฬาประเภทหนึ่ง ที่ช่วยเสริมสร้างสมรรถภาพทางด้านร่างกายให้มีความสมบูรณ์ แข็งแรง เพราะผู้เล่นจะต้องฝึกให้ร่างกายแข็งแรง มีความอดทน มีความคล่องแคล่วว่องไว มีพลังและความเร็ว เมื่อร่างกายได้ออกกำลังกายแล้วยังช่วยให้ระบบต่างๆ ภายในร่างกายได้ทำงานประสานสัมพันธ์กัน
เป็นอย่างดีและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เมื่อร่างกายแข็งแรงก็จะช่วยเพิ่มความสามารถ
ของร่างกายให้มีความต้านทานได้ดีด้วย
๑๐. กีฬาวอลเลย์บอลเหมือนกับกีฬาประเภทอื่น ๆ ที่สร้างความมีน้ำใจนักกีฬา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การรู้จักแพ้
ชนะและอภัย นอกจากนี้ยังเป็นเครื่องมือในการเป็นสื่อกลางก่อให้เกิดความสนิทสนมคุ้นเคยและมีสัมพันธ
์ไมตรีอันดีต่อกัน ทั้งระหว่างภายในประเทศและระหว่างประเทศได้อย่างดี
๑๑. ปัจจุบันผู้เล่นวอลเลย์บอลที่มีความสามารถสูง ยังมีสิทธิ์ได้เข้ามาศึกษาต่อในระดับสูงบางสาขา บางสถาบัน ทั้งสถานการศึกษาของรัฐและเอกชน นอกจากนี้ยังมีหลายหน่วยงานทารับบุคคลที่เป็นนักกีฬาวอลเลย์บอลเข้าทำงาน เพราะวอลเลย์บอลกำลังเป็นกีฬาที่นิยมของวงการทั่วไปและมีการแข่งขันกันอยู่ เป็นประจำ

การเสริ์ฟวอลเลย์บอล

     การเสิร์ฟลูกบอล
การเสิร์ฟเป็นการรุกวิธีหนึ่งการแข่งขันจะเริ่มจากการเสิร์ฟเสมอ ลูกเสิร์ฟที่มีพลังและมีประสิทธิภาพ สามารถ
ข่ม คู่แข่งขันและเชิงความเป็นผู้คุมเกมการเล่นได้ด้วย จุดประสงค์ของการเสิร์ฟอยู่ที่การทำคะแนนโดยตรงทำลายยุทธวิธีการรุกของฝ่าย ตรงข้ามลดภาระการตั้งรับของฝ่ายตน สร้างโอกาสที่ได้เปรียบในการตอบโต้ลูกเสิร์ฟที่ดีสามารถทำความหนักใจให้ฝ่าย ตรงข้ามอันเป็นการทำลายขวัญและจิตใจของคู่แข่งขันทำให้เกิดความรวนเร ขาดความสัมพันธ์ในการรุกได้ทางหนึ่งด้วย ผู้เล่นจึงควรหาความชำนาญ โดยการฝึกหัดเสิร์ฟด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งที่เหมาะสมและดีที่สุด หรือตามความถนัดของผู้เล่นแต่ละคน
หลักสำคัญในการเสิร์ฟ มีดังนี้
ท่าทางในการเสิร์ฟ
  1. ตำแหน่งการยืน
  2. การโยนลูกบอล
  3. การเหวี่ยงแขน
  4. จุดที่มือกระทบลูกบอล
ท่าทางในการเสิร์ฟ



ก่อนที่ผู้เล่นจะเริ่มทำการเสิร์ฟต้องรู้ตัวเองว่าตนเองถนัดเสิร์ฟท่า ทางแบบใดตามที่ได้ฝึกฝนมา ถ้าเคยฝึกฝน หรือถนัดเสิร์ฟลูกท่าทางแบบใดต้องเสิร์ฟลูกตามแบบนั้นตลอดการแข่งขัน เพราการเปลี่ยนท่าทางการเสิร์ฟบ่อย ๆ ย่อมทำให้ประสิทธิภาพการเสิร์ฟเสียไป ตำแหน่งการยืน
ก่อนที่จะเริ่มเสิร์ฟทุกครั้ง ผู้เล่นต้องยืนตามจุดหรือตำแหน่งที่เคยฝึกซ้อมมา มีผู้เล่นจำนวนมากที่ขาดความสังเกตในเรื่องนี้พอจับลูกบอลเข้ามายืนในเขต เสิร์ฟก็เสิร์ฟลูกไปตามใจตนเอง การยืนห่างจากเส้นหลังใกล้หรือไกลเพียงใด ยืนห่างจากมุมสนามมากน้อยเพียงใด ก็ต้องยืนที่จุดนั้นตลอดทุกครั้งที่ทำการเสิร์ฟ เพราะจะทำให้ความแรงความเร็วและทิศทางของลูกบอลเป็นไปตามเป้าหมายที่ต้องการ และทำให้การเสิร์ฟมีผลเสียน้อยด้วย การโยนลูกบอล
ความสูงขณะโยนลูกบอลขึ้นต้องสม่ำเสมอ เช่น ความสูงจากมือที่โยน ประมาณ 3 – 4 ช่วงของลูกบอล ก็จะต้องโยนลูกบอลให้มีความสูงเช่นนี้ตลอดไปเพราะการโยนลูกสูงบ้างต่ำบ้าง ทำให้แรงที่ใช้ตีและทิศทางของลูกขาดความแม่นยำ นอกจากนี้การโยนลูกใกล้ตัว ห่างตัวบ้าง เอียงไปซ้ายบ้างขวาบ้าง ก็ย่อมมีผลต่อการตีลูกบอลด้วย การเหวี่ยงแขน
การเสิร์ฟให้ลูกบอลพุ่งไปตามทิศทางและมีความแรงตามที่ต้องการขึ้น อยู่กับการเหวี่ยงแขนด้วย ผู้เสิร์ฟเคยเหวี่ยงแขนในลักษณะใด มือห่างจากลูกบอลเท่าไรจะต้องทำอย่างนั้นทุกครั้งที่เสิร์ฟ จึงต้องฝึกฝนการเหวี่ยงแขนให้คล้ายกับเครื่องจักรที่มีจังหวะการทำงานอย่าง สม่ำเสมอ จุดที่มือกระทบลูกบอล
ลักษณะของมือและจุดที่มือกระทบลูกบอลต้องเหมือนกันทุกครั้งที่ตี ลูกบอลในท่านั้น ๆ ด้วย เช่น การแบมือตีด้านหลังตรงส่วนกึ่งกลางของลูกบอล ก็ ต้องทำในลักษณะเช่นนี้ตลอดทุกลูกที่เสิร์ฟ เพราะการออกแรงและจุดที่ตีลูกบอลแตกต่างกันก็ยอมทำให้ทิศทางของลูกบอลที่ พุ่งออกไปแตกต่างกันด้วย ลักษณะของการเสิร์ฟ
การเสิร์ฟโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะใหญ่ ๆ คือ
1. การเสิร์ฟลูกมือล่าง
2. การเสิร์ฟลูกมือบน

วันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2556

กติกาวอลเลย์บอล


สนามแข่งขัน

          -  จะต้องเป็นพื้นไม้หรือพื้นปูนที่มีลักษณะเรียบ ไม่มีสิ่งกีดขวาง

          -   เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 9 เมตร ยาว 12 เมตร ความสูงจากพื้นประมาณ 7 เมตร มีบริเวณโดยรอบห่างจากสนามประมาณ 3 เมตร

          -  แต่หากเป็นสนามมาตรฐานในระดับนานาชาติ กำหนดให้รอบสนามห่างจากสนามประมาณ 5 เมตร ด้านหลังห่าง 8 เมตร และมีความสูง 12.5 เมตร

          -  เส้นรอบสนาม (Boundary lines) ทุกเส้นจะต้องกว้าง 5 เซนติเมตร เป็นสีอ่อนตัดกับพื้นสนาม มองเห็นได้ชัดเจน

          -  เส้นแบ่งเขตแดน (Center line) ที่อยู่ตรงกลางสนาม จะต้องอยู่ใต้ตาข่าย หรือตรงกับเสาตาข่ายพอดี

ตาข่าย

          -  จะต้องมีความสูงจากพื้น 2.43 เมตร กว้าง 1 เมตร ยาว 9.5 - 10 เมตร

          -  ตารางในตาข่ายกว้าง 10 เซนติเมตร ผู้ติดไว้กับเสากลางสนาม

          -  ตาข่ายสำหรับทีมหญิงสูง 2.24 เมตร



ลูกวอลเลย์บอล

          -  เป็นทรงกลมมีเส้นรอบวงประมาณ 65-67 เซนติเมตร น้ำหนัก 260-280 กรัม

          -  ทำจากหนังสังเคราะห์ที่ยืดหยุ่นได้

          -  ซึ่งในการแข่งขันระดับโลกจะใช้ลูกบอล 3 ลูกต่อการแข่งขัน เพื่อความต่อเนื่องหากบอลออกนอกสนาม

ผู้เล่น

          -  ในทีมจะต้องมีผู้เล่นไม่เกิน 12 คน ผู้ฝึกสอน 1 คน ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน 1 คน เทรนเนอร์ 1 คน และแพทย์ 1 คน

          -  ผู้เล่นจะลงเล่นในสนามได้ครั้งละ 6 คน โดยแบ่งออกเป็นหน้าตาข่าย 3 คน และด้านหลังอีก 3 คน

          -  สามารถเปลี่ยนตัวผู้เล่นครั้งละกี่คนก็ได้ โดยผู้เล่นเดิมที่ถูกเปลี่ยนออก สามารถเปลี่ยนกลับมาเล่นในสนามได้อีก

          -  การแต่งกายในชุดแข่งขัน ต้องแต่งกายเหมือนกันทั้งทีม ประกอบไปด้วย เสื้อสวมคอ กางเกงขาสั้น ถุงเท้า และรองเท้าผ้าใบพื้นยางที่ไม่มีส้น โดยผู้เล่นแต่ละคนจะต้องติดหมายเลขกำกับไว้ที่เสื้อ กำหนดให้ใช้เลข 1-18 เท่านั้น สำหรับหัวหน้าทีมจะต้องมีแถบผ้าขนาด 8x2 เซนติเมตร ติดอยู่ใต้หมายเลขบริเวณอกเสื้อด้วย

ประวัติกีฬาวอลเลย์บอล


    กีฬาวอลเลย์บอล (Volleyball) นั้น ถือกำเนิดขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ.1895 (พ.ศ.2438) โดย นายวิลเลียม จี. มอร์แกน (William G. Morgan) ผู้อำนวยการฝ่ายพลศึกษาของสมาคม Y.M.C.A. (Young Men's Christian Association) ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ต้องการมีกีฬาสำหรับเล่นในช่วงฤดูหนาวแทนกีฬากลางแจ้ง เพื่อออกกำลังกายและพักผ่อนหย่อนใจยามหิมะตก

          โดย นายวิลเลียม จี. มอร์แกน เกิดไอเดียในการพัฒนากีฬาวอลเลย์บอลขึ้น ขณะที่เขากำลังนั่งดูเทนนิส และเลือกนำเอาตาข่ายกลางสนามของกีฬาเทนนิส มาเป็นส่วนประกอบในกีฬาที่เขาคิดค้น และเลือกใช้ยางในของลูกบาสเก็ตบอล มาเป็นลูกบอลที่ใช้ตีโต้ตอบกันไปมา แต่ยางในของลูกบาสเก็ตบอลกลับให้น้ำหนักเบาจนเกินไป จึงเปลี่ยนไปใช้ลูกบาสเก็ตบอลแทน ซึ่งลูกบาสเก็ตบอลก็มีขนาดใหญ่และน้ำหนักมากจนเกินไปอีก เขาจึงสั่งทำลูกบอลขึ้นมาใหม่โดยเฉพาะ ในขนาดเส้นรอบวง 25-27 นิ้ว และกำหนดน้ำหนักไว้ที่ 8-12 ออนซ์ จากนั้นจึงตั้งชื่อกีฬาชนิดนี้ว่า มินโทเนตต์ (Mintonette)

          ต่อมา ชื่อของ มินโทเนตต์ (Mintonette) ถูกเปลี่ยนเป็น วอลเลย์บอล (Volleyball) หลังได้รับคำแนะนำจาก ศาสตราจารย์ อัลเฟรด ที เฮลสเตด (Professor Alfred T. Helstead) ในงานประชุมสัมมนาผู้นำทางพลศึกษาที่วิทยาลัยสปริงฟิลด์ (Spring-field College) เมื่อปี ค.ศ.1896 (พ.ศ.2439) และกลายเป็นกีฬายอดนิยมในหมู่ประชาชนชาวอเมริกัน จนแพร่หลายออกไปทั่วโลก รวมทั้งมีการปรับปรุงและพัฒนาอยู่เป็นระยะ